ประวัติผู้จัดทำ


ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ-สกุล    นางสาวทัศนีย์   สุวรรณโคตร์



เลขที่         25
ชั้น            มัธยมศึกษาปีที่4/1
หน้าที่       ทำบทที่ 2
ชื่อ-สกุล    นางสาวปรารถนา   นมัสศิลา



เลขที่         26
ชั้น            มัธยมศึกษาปีที่4/1
หน้าที่       ทำบทที่ 3,4
ชื่อ-สกุล    นางสาวเพ็ญศิริ   พลภูงา


เลขที่         27
ชั้น            มัธยมศึกษาปีที่4/1
หน้าที่       ทำบทที่ 1,5
ชื่อ-สกุล    นางสาววศินี   หมายมี



เลขที่         28
ชั้น            มัธยมศึกษาปีที่4/1
หน้าที่       พิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

บทคัดย่อ


ชื่อเรื่อง                                     วิธีการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้ศึกษาค้นคว้า                        นางสาวเพ็ญศิริ   พลภูงา และคณะ                    

สาขาวิชา                                  วิทย์-คณิต

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก              อาจารย์ณรินทร น้อยพิทักษ์

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม               อาจารย์สุพรรณี  ปลื้มถนอม

ปีการศึกษา                             2557

บทคัดย่อ

            การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเรื่องวิธีการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมุ่งเน้นการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่อง 1.รถสองแถว      2.วินมอเตอร์ไซด์ 3.รถส่วนตัว 4.รถเมล์ของขสมก. 5.รถรับส่งนักเรียน 6.รถแท็กซี่                  7.รถจักรยาน 8.เดินเท้า กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนจำนวน 100คน ซึ่งเป็นนักเรียนหญิง 50 คน นักเรียนชาย 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นแบบสำรวจ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ เพื่อสำรวจความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป

            ผลการศึกษาพบว่า เดินทางมาโดยรถสองแถว สูงสุด รองลงมา คือ เดินทางมาโดยรถส่วนตัว/ วินมอเตอร์ไซด์ และ ต่ำสุด คือ เดินทางมาโดยรถจักรยาน/ รถรับ-ส่ง

บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญ


บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา

            ตอนนี้ประเทศไทยกำลังพัฒนาในด้านต่างๆ และมีเทคโนโลยีต่างๆเพิ่มขึ้นมากมาย และเป็นยุคไร้พรมแดนของการสื่อสารไม่ต้องเดินทางมาหากันแต่ก็สามารถเห็นหน้ากันได้ผ่าน Internet แต่อย่างไรการเรียนการสอนก็ยังต้องอาศัยการเห็นหน้ากันจริงๆ เพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น นักเรียนจึงต้องเดินทางมาโรงเรียน และการเดินทางมาโรงเรียนก็มีหลากหลายวิธี

ในตอนเช้าดิฉันมักเห็นเพื่อนๆเดินทางมาโรงเรียนด้วยวิธีการต่างๆ  ทำให้เกิดสงสัยว่าเพื่อนๆ ม.4 จะเดินทางมาโรงเรียนโดยวิธีการใดมากที่สุด จึงจัดทำแบบสำรวจการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนชั้น ม.4 ขึ้น เพื่อสำรวจว่านักเรียนเดินทางมาโรงเรียนโดยวิธีการใดมากที่สุด

   กลุ่มเป้าหมาย

            นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 100 คน แบ่งเป็น นักเรียนหญิง 50 คน นักเรียนชาย 50 คน                                                                                                                             

   จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

            มุ่งเน้นการศึกษา เรื่องวิธีการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

            นักเรียนเดินทางมาโรงเรียนโดยวิธีการนั่งรถสองแถวมากที่สุด


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

            แบบสำรวจ

   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาค้นคว้า

            1.ได้รับทราบวิธีการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

            2.สามารถนำข้อมูลที่ได้มาทำสถิติของการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้

 

 

 

บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง



            การสำรวจว่านักเรียนโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ เดินทางมาโรงเรียนโดยวิธีการใด  ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้


            1. การเดินทาง                             2. มอเตอร์ไซค์รับจ้าง

3. รถเมล์ของ ขสมก.                    4.รถรับ-ส่ง นักเรียน                                                    

5.รถส่วนตัว                                  6.เดินเท้า                                              

การเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียน

การบริการความปลอดภัยในการเดินทางไป-กลับโรงเรียน

     การจัดบริการความปลอดภัยในการเดินทางไป-กลับโรงเรียน ควรพิจารณา คือ การจัดบริการเรื่อง การเดินทางไป-กลับโรงเรียน และการจัดบริการเรื่องการใช้รถ
     การจัดบริการเรื่องการเดินทางไป-กลับโรงเรียน    เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางไป-กลับโรงเรียนของนักเรียน ทางโรงเรียนควรดำเนินการดังนี้ 
     1. การจัดทำเส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด ครูและนักเรียนช่วยกันวางแผนกำหนดเส้นทาง มาโรงเรียน เขียนแผนที่บริเวณรอบโรงเรียน หรือให้นักเรียนเขียนแผนที่ชุมชน นักเรียนช่วยกำหนดเส้นทาง ที่ปลอดภัยที่สุดจากบ้านของตนมาโรงเรียน โดยเลือกเส้นทางที่มีการจราจรน้อยที่สุด ละเดินข้ามถนนในช่วง สัญญาณไฟเขียวและสัญญาณให้รถหยุด เมื่อจัดทำแผนที่กำหนดเส้นทางเดินทางเท้าเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนควรส่งแผนที่ไปให้ทางบ้านหรือผู้ปกครอง เพื่อจะได้ศึกษา และรับรู้การเดินทางของนักเรียน โดยผู้ปกครองจะต้องเซ็นต์ชื่อรับทราบ และส่งกลับมาให้โรงเรียนด้วย

     2. การใช้ธงนำกลุ่มนักเรียน เมื่อกำหนดเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุดในการเดินทางแล้ว ทางโรงเรียนควร จัดให้มีการใช้ธงนำกลุ่มนักเรียนเวลาเดินทางเท้าไป และกลับโรงเรียน ซึ่งธงที่ใช้อาจจะใช้สามเหลี่ยม ขนาดเล็กมีสีเข้มมองเห็นได้ชัดเจน เช่น สีแดง  สีเหลืองเข้ม เป็นต้น สำหรับวิธีการใช้ธงนำกลุ่มนักเรียนนั้น มีดังนี้
     - ใช้ธงนำกลุ่มนักเรียนที่มีบ้านไปทิศทางเดียวกัน
     - ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มถือจะต้องได้รับการคัดเลือกและแนะนำการปฏิบัติก่อนการใช้ธง
     - ก่อนกลับบ้านหัวหน้ากลุ่มจะต้องมารับธงจากครูเวร และนำธงไปตั้งเป็นหัวแถนนักเรียนในกลุ่ม
     - หัวหน้ากลุ่มตรวจนับจำนวนเพื่อนนักเรียนให้ครบถ้วน
     - นำแถวออกจากโรงเรียนผ่านบ้านแต่ละคน หัวหน้ากลุ่มจะอยู่บ้านสุดท้าย และนำธงไปเก็บที่บ้านของตน
     - ในวันรุ่งขึ้นหัวหน้ากลุ่มจะถือธงออกจากบ้าน และรับเพื่อนที่ออกมารอตามเส้นทางที่กำหนด โดยหัวหน้ากลุ่มจะต้องนับจำนวนของเพื่อนนักเรียนในกลุ่มด้วย
     - เมื่อถึงโรงเรียนแล้ว หัวหน้ากลุ่มต้องนำธงไปเก็บให้เรียบร้อย

     3. การใช้ธงข้ามถนน
     - การข้ามถนนบริเวณหน้าโรงเรียนที่มีทางม้าลาย โรงเรียนควรจัดให้มีธงข้ามถนนซึ่งมีขนาด 27x17 นิ้ว ด้ามธงใช้ไม้ไผ่หรือท่อเอสล่อน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ความยาวอย่างน้อย 2.10 เมตร
     จัดนักเรียนเป็นผู้ถือธง 2 คนๆ ละฟากถนน โดยมีครูเวรคอยควบคุมดูแลในช่วงหนึ่งชั่วโมงก่อนโรงเรียนเข้า และหนึ่งชั่วโมงหลังโรงเรียนเลิก
     - ผู้ถือธงสังเกตความเร็วของรถที่วิ่งผ่านไปมา และให้ระยะห่างจากทางเข้ากับระยะของรถ ห่างกันอย่างน้อย  15 เมตร ก่อนนำธงลงให้ขนานกับพื้นถนน
     - เมื่อธงอยู่ในลักษณะขนานกับพื้นถนน และรถหยุดสนิทแล้ว นักเรียนจึงสามารถข้ามถนนได้ โดยข้ามอย่างเป็นระเบียบและรวดเร็ว ไม่หยอกล้อกันโดยเด็ดขาด
     - เมื่อนักเรียนทุกคนข้ามถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ถือธงควรยกธงขึ้นไว้แนบข้างลำตัว แล้วนำไปเก็บเข้าที่
     - การใช้ธงข้ามถนน เหมาะสำหรับโรงเรียนที่อยู่ในเขตการจราจรคับคั่ง และโรงเรียนควรประสานงานการใช้ธง กับตำรวจจราจรในเขตนั้นๆ ด้วย

     4.  การจัดบริการเรื่องการใช้รถ โรงเรียนควรจัดบริการเรื่องการใช้รถ ดังนี้ 
     จัดลานจอดรถ หรือสถานที่สำหรับจอดรถรับส่งนักเรียนที่เป็นสัดส่วนและปลอดภัย โดยแยกบริเวณ ที่จอดรถโรงเรียน และที่จอดรถของผู้ปกครองนักเรียน  การจัดการจราจรในบริเวณโรงเรียนและรอบ ๆ โรงเรียน ให้เป็นระบบ ระเบียบ เพื่อความสะดวก และความปลอดภัยในการใช้รถ
     จัดให้มีบริการรถในบริเวณโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนอนุบาลหรือประถมศึกษา โรงเรียนควรจัดให้มี บริการรถรับ-ส่ง นักเรียนที่ปลอดภัย โดยให้ความสำคัญของผู้ขับขี่รถที่ผ่านการฝึกอบรมผู้ขับขี่รถนักเรียน และได้รับการคัดเลือกอย่างดีมาแล้ว คำนึงถึง รถยนต์ที่มีสภาพดี และได้รับการตรวจสอบสภาพก่อนการใช้ ทุกครั้ง นอกจากนั้นทางโรงเรียนควรฝึกและอบรมนักเรียนที่โดยสาร รถโรงเรียน เรื่องการโดยสารรถ อย่างปลอดภัยด้วย

 มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
 

 

             มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ใช้พาหนะเป็นรถจักรยานยนต์ สามารถบนส่งได้ที่ละไม่เกิน 1 คนเท่านั้นและมีการกำหนดราคาให้บริการตามที่กำหนด หรือตามตกตงอันเห็นสมควรแก่ทั้งสองฝ่าย

เอกลักษณ์ของวินมอเตอร์ไซค์ ผู้ทำหน้าที่จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียน และรับเสื้อวิน แบบเสื้อ สีส้ม พร้อม ชื่อวิน ชื่อพนักงานและเบอร์เขตให้บริการ รวมทั้งยังต้องบริการหมวกกันน็อคให้กับลูกค้าอีกด้วย

 

รถเมล์ของ ขสมก.

 

             รถโดยสารประจำทาง หรือที่นิยมเรียกกันว่า รถเมล์ เป็นระบบขนส่งมวลชนระบบหนึ่งที่ให้บริการบนถนน โดยมีลักษณะเป็นรถขนาดใหญ่ที่บรรทุกผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก โดยกำหนดเส้นทาง และส่วนใหญ่เรียกชื่อเส้นทางเป็นตัวเลข เช่น สาย 1 สาย 2 และมีเก็บค่าโดยสารโดยวิธีต่างๆกันไป

 

 รถรับ-ส่ง นักเรียน
 
 
               รถรับส่ง ต้องมีการจดทะเบียนเพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้ใช้รถในการรับจ้างรับส่งนักเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.๒๕๒๒  อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ใช้รถในการรับจ้างรับส่งนักเรียน พ.ศ. ๒๕๔๗

 

รถส่วนตัว

 

               รถยนต์ หมายถึง ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ

 

 รถสองแถว
 
 

 

รถสองแถว หมายถึง รถรับจ้างที่มีที่นั่งไปตามความยาวของรถเป็น ๒ แถว

 

เดินเท้า

 


                การเดินเท้าในชีวิตประจำวันให้สามารถถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยนั้นผู้เดินเท้าจำเป็นต้องปฏิบัติดังนี้

      1.เดินทางเท้าให้เดินชิดด้านในของทางเท้าถ้าไม่มีทางเท้าให้เดินชิดริมขวาของถนน โดยเดินสวนทางกับรถและควรให้เด็กเล็กเดินด้านใน

     2.การเดินเท้าเวลากลางคืนควรสวมเสื้อสีสว่าง เช่นสีขาวหรือสีสะท้อนแสงหรือถือไฟส่องทาง

     3.เดินข้ามถนนตรงทางข้าม เช่นทางม้าลาย สะพานลอยหรืออุโมงค์ ก่อนข้ามถนนต้องมองขวา-ซ้าย และมองขวาอีกครั้งเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงข้ามด้วยความระมัดระวังและรวดเร็วแต่อย่าวิ่งเพราะอาจหกล้มเป็นอันตรายได้

     4.การข้ามถนนบริเวณทางแยกที่มีสัญญาณไฟ ต้องรอดูสัญญาณไฟก่อนข้าม

     5.ถนนที่มีเกาะกลางถนนต้องข้ามทีละครึ่งถนน แล้วไปหยุดรอที่เกาะกลางเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงข้ามต่อ

     6.เมื่อลงจากรถประจำทางอย่าข้ามถนนทันที ควรหยุดรอให้รถประจำทางผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงค่อยข้าม

     7.ขณะข้ามถนนไม่ควรหยอกล้อกัน ถ้ามีของตกหล่นไม่ควรหยุดเก็บ ให้ข้ามไปให้พ้นถนนก่อน

     8.การเดินเท้าแต่ละครั้งควรเผื่อเวลาสำหรับการเดินทางไว้ด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องรีบเร่งจนขาดความระมัดระวัง

 

 

บบที่ 3 วิธีการศึกษาค้นคว้า


บทที่ 3

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า


        การสำรวจวิธีการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที 4 โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์  การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

                            1.  กลุ่มเป้าหมาย

                            2.  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

                            3.  การเก็บรวบรวมข้อมูล

                            4.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

 

กลุ่มเป้าหมาย          
        กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
เป็นนักเรียนชาย
50 คน นักเรียนหญิง 50 คน   รวม   100  คน


เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ
       
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสำรวจ
แบ่งออกเป็น 2 ตอน

          ตอนที่ 1 เป็นแบบสำรวจเกี่ยวกับ สถานภาพของผู้ตอบแบบสำรวจ จำแนกเป็น
เพศ           
              
ตอนที่ 2  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ 
1)   รถสองแถว  2)   รถรับ-ส่ง นักเรียน  3)  วินมอเตอร์ไซค์  4)   รถแท็กซี่  5)   รถส่วนตัว  6)   รถจักรยาน  7)   เดินเท้า  8)   รถเมล์ของ ขสมก. เป็นแบบสำรวจ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย   

 

 

 

 

ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ

           เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสำรวจ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

           1. ศึกษาทฤษฏี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบโครงสร้างของแบบสำรวจ     
              2. นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหากำหนดกรอบแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการศึกษา          

              3. นำแบบสำรวจที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ โดยครูที่ปรึกษาแล้ว ไปเก็บข้อมูลกับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นนักเรียนชาย 50 คน นักเรียนหญิง 50 คน 

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล                                           
           การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้
              1.  นำแบบสำรวจไปขออนุญาตครูที่ปรึกษา
โครงการ เพื่อแจกแบบสำรวจให้แก่นักเรียนโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล                          
              2. ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสำรวจด้วยตนเอง จำนวน
100 ฉบับได้กลับคืนมา จำนวน 100  ฉบับ  คิดเป็นร้อยละ  100           

 

สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล 
          ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์ดังนี้                                  
            1. ข้อมูลที่ได้รับจากตอนที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกเป็น เพศ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ  
            2.  ข้อมูลที่ได้จากตอนที่ 2  การสำรวจวิธีการเดินทางมาโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป